หลักสูตรการเรียนการสอนกิจกรรมลูกเสือ
ในฐานะที่คณะลูกเสือแห่งชาติ (The National Scout Organization of Thailand: NSOT) เป็นสมาชิกขององค์การลูกเสือโลก (World Organization of the Scout Movement: WOSM) จะต้องปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ หลักการ และวิธีการของการลูกเสือ ตามที่องค์การลูกเสือโลกได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดแล้ว คณะลูกเสือแห่งชาติ ยังยึดมั่นในวัตถุประสงค์ของคณะลูกเสือแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติลูกเสือ (ฉบับที่ 3)พ.ศ. 2528 และปฏิบัติตามข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษ พ.ศ. 2509 การเรียนการสอนกิจกรรมลูกเสือ เดิมเป็นกิจกรรมเลือก ต่อมาไก้แก้ไขเป็นกิจกรรมบังคับ และแก้ไขอีกครั้งเป็นวิชาบังคับเรียน แต่เมื่อประเมินผลแล้วเห็นว่าไม่ประสบผลสำเร็จ จึงแก้ไขเป็นกิจกรรมบังคับเลือก จนถึง พ.ศ. 2544 กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้กำหนดให้สถานศึกษาใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป โดยกำหนดให้กิจกรรมลูกเสือ ยุวกาชาด และผู้บำเพ็ญประโยชน์ อยู่ในกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
หลักสูตรกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
จุดประสงค์
เพื่อให้ผู้เรียนมีพัฒนาทางกาย สติปัญญา จิตใจ และศีลธรรม ให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ ช่วยสร้างสรรค์สังคมให้มีความเจริญก้าวหน้า ความสงบสุข และความมั่นคงของประเทศชาติ จึงต้องปลูกฝังให้มีคุณลักษณะดังนี้
1. มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติตามคำปฏิญาณ กฎ และคติพจน์ของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่2. มีทักษะการสังเกต จดจำ การใช้มือ เครื่องมือ การแก้ปัญหา และทักษะในการทำงานร่วมกับ ผู้อื่น
3. มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความกล้าหาญ อดทน เชื่อมั่นในตนเอง มีระเบียบวินัย มีความสามัคคี เห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความเสียสละ บำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์
4. มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ สร้างสรรค์งานฝีมือ สนใจและพัฒนาเรื่องของธรรมชาติ
หลักสูตรลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
กิจกรรม | หัวข้อเนื้อหา |
เครื่องหมายลูกเสือโลก (สอบได้ภายใน 6เดือน) | 1. แสดงว่าเข้าใจเรื่องราวต่อไปนี้พอสมควร 1.1 กิจการของคณะลูกเสือแห่งชาติ 1.2 กิจการของคณะลูกเสือโลกและความสัมพันธ์ระหว่างลูกเสือนานาชาติ 1.3 บทบาทของตนเองในฐานะที่เป็นลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ 2. ยอมรับและปฏิบัติตามคำปฏิญาณและกฏของลูกเสือ 3. เข้าใจเรื่องระเบียบแถวและปฏิบัติตามหนังสือ คู่มือการฝึกระเบียบแถว ลูกเสือของสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ 4. กางและรื้อเต็นท์ที่พักแรมในเวลากลางคืนกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ อีกคนหนึ่ง 5. สาธิตการบรรจุเครื่องหลังอย่างถูกต้อง สำหรับการเดินทางไกลไปพักแรมค้างคืน 6. ก่อและจุดไฟกลางแจ้ง แล้วปรุงอาหารอย่างเพียงพอสำหรับ 2 คน 7. สามารถอ่านและใช้แผนที่ เข็มทิศและรู้จักบริเวณที่ตนอยู่ โยพิจารณาจากเข็มทิศและสิ่งแวดล้อมที่มองเห็นด้วยตาเปล่า 8. สามารถผูกและรู้จักประโยชน์เงื่อน 10 เงื่อนต่อไปนี้ คือ เงื่อนพิรอด เงื่อนขัดสมาธิ เงื่อนผูกกระหวัดไม้ เงื่อนบ่วงสายธนู เงื่อนตะกรุดเบ็ด เงื่อนประมง เงื่อนผูกซุง เงื่อนผูกรั่ง เงื่อนปมตาไก่ และการผูกแน่น (ผูกทแยง ผูกกากบาท ผูกประกบ) 9. รู้วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลในเรื่องต่อไปนี้ คือ บาดแผลธรรมดา ถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เป็นลม งูกัด แมงมุมกัด แมลงกัดต่อย ผิวหนังถลอกและเท้าแพลง 10. รู้เรื่องที่พึงระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยทั่วไปเกี่ยวกับกิจกรรมของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ |
เครื่องหมายวิชาพิเศษ (76 วิชา) | เรียนนอกเวลาหรือเรียนในเวลาในภาคเรียนที่ 2 หรือใช้วิธีบูรณาการเข้ากับ กลุ่มสาระการเรียนรู้ |
หลักสูตรลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
กิจกรรม | หัวข้อเนื้อหา |
เครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ (สอบได้ภายใน 1 ปี และเข้าพิธีประจำกองแล้ว หลังจากได้รับเครื่องหมายลูกเสือโลก) | ผู้ที่เข้าเกณฑ์ได้รับเครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้1. ได้รับเครื่องหมายลูกเสือโลก2. สอบวิชาพื้นฐานระดับลูกเสือชั้นพิเศษได้ 5 วิชา คือ วิชาการเดินทาง สำรวจ วิชาการบริการ และวิชาอื่นอีก 3 วิชา ซึ่งลูกเสือเป็นผู้เลือก 3. ผ่านการฝึกอบรมวิชาความคิดริเริ่ม ( Initiative Course) ซึ่งต้องประกอบด้วย ไปอยู่ค่ายพักแรมเป็นเวลา 1 คืน การไปอยู่ค่ายพักแรมต้องเดินไปยังท้องถิ่นที่ลูกเสือไม่คุ้นเคย จำนวนลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ที่จะไปอยู่ค่ายพักแรม ควรแบ่งเป็นชุด ๆละ 4 คน การเดินทางไกลต้องมีระยะทางอย่างน้อย 8 กิโลเมตรและในระหว่างการเดินทางให้สมมติว่า มีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นอย่างน้อย 5 อย่าง เช่น ช่วยเหลือผู้ประสบภัยหรือมีผู้ติดอยู่ในที่สูง การใช้เข็มทิศ การปฏิบัติงานในเวลากลางคืน การแปลรหัสและเหตุฉุกเฉินทางน้ำ เป็นต้น เหตุฉุกเฉินเช่นว่านี้ ให้เว้นระยะห่างกันพอสมควรและลูกเสือจำเป็นต้องมี่ความรู้เรื่องแผนที่และเข็มทิศ จึงจะสามารถเดินทางไปถึงจุดหมายปลายทางได้ การฝึกอบรมวิชาความคิดริเริ่มนี้ต้องมีลักษณะเป็นการทดสอบอย่างจริงจังในเรื่องของความตั้งใจจริง ความคิดริเริ่ม และการพึ่งตนเอง (Self-reliance) คณะกรรมการดำเนินงานของกองและผู้กำกับเห็นว่าเป็นผู้ที่สมควรได้รับเครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ ได้รับอนุมัติจากเลขาธิการคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติหรือ ผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัดแล้วแต่กรณี |
เครื่องหมายวิชาพิเศษ (76 วิชา) | เรียนนอกเวลาหรือเรียนในเวลาในภาคเรียนที่ 2 หรือใช้วิธีบูรณาการเข้ากับกลุ่มสาระการเรียนรู้
|
หลักสูตรลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
กิจกรรม | หัวข้อเนื้อหา |
เครื่องหมายลูกเสือหลวง (สอบได้6 เดือน) | ผู้ที่เข้าเกณฑ์ได้รับเครื่องหมายลูกเสือหลวง จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้1. ได้รับเครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ2. สอบได้วิชาพื้นฐานในระดับลูกเสือชั้นพิเศษ 3 วิชา ซึ่งไม่อยู่ในวิชาพื้นฐาน 5 วิชาที่สอบได้เมื่อขอรับเครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ 3. สอบได้วิชาบริการและวิชาพื้นฐานอีก 3 วิชา ในระดับลูกเสือหลวง 4. ผ่านการฝึกอบรมวิชาการเป็นผู้นำ ตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ 5. คณะกรรมการดำเนินงานของกองและผู้กำกับเห็นว่าเป็นผู้ที่ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีตามวิธีการของลูกเสือและสมควรได้รับเครื่องหมายลูกเสือหลวง 6. เลขาธิการคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติหรือผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัดแล้วแต่กรณี เป็นผู้แต่งตั้งบุคคลที่มีวุฒิเหมาะสมทำการสัมภาษณ์ เมื่อเห็นว่าเป็นผู้เหมาะสมแล้ว ให้รายงานต่อไปตามลำดับจนถึงคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติพิจารณาอนุมัติ และให้ประธานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติเป็นผู้ลงนามในประกาศนียบัตรแสดงว่าเป็นผู้ได้รับเครื่องหมายลูกเสือหลวง |
เครื่องหมายวิชาพิเศษ (76 วิชา) | เรียนนอกเวลาหรือเรียนในเวลาในภาคเรียนที่ 2 หรือใช้วิธีบูรณาการเข้ากับกลุ่มสาระการเรียนรู้ |
แนวการจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีในสถานศึกษา
การจัดกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษา ควรจัดให้มีการเปิดประชุมกองทุกครั้ง ก่อนที่จะมีการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อเป็นการฝึกความมีระเบียบวินัยในตนเอง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
1. พิธีเปิด (เชิญธงขึ้น สวดมนต์ สงบนิ่ง ตรวจ แยก)2. เกมหรือเพลง ทำให้เกิดความสนุกสนาน เป็นการอบอุ่นร่างกายก่อนปฏิบัติกิจกรรม อาจใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็นจะต้องสอดคล้องหรือสัมพันธ์กับ เนื้อหาเสมอไป
3. การปฏิบัติกิจกรรม เน้นการปฏิบัติเป็นฐาน โดยใช้ระบบหมู่เพื่อสะดวกต่อการเรียนการสอน ตลอดจนการควบคุมดูแล ตวจสอบและให้คำแนะนำแก้ไข
4. การเล่าเรื่องสั้นที่เป็นประโยชน์ ควรเน้นเรื่องง่าย ๆและสรุปให้ลูกเสือเข้าใจว่ามีประโยชน์ อย่างไร ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของคุณธรรมต่าง ๆ เช่น ความสามัคคี ความซื่อสัตย์สุจริต ความเสียสละ ความกล้าหาญอดทน ฯลฯ
5. พิธีปิด (นัดหมาย ตรวจ เชิญธงลง เลิก)
การวัดประเมินผลกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี
การวัดผลและประเมินผลกิจกรรมลูกเสือมี 2 กิจกรรม คือ
1. กิจกรรมบังคับ เป็นการวัดผลและประเมินผลเพื่อให้ลูกเสือ เนตรนารีผ่านช่วงชั้นหรือจบหลักสูตร โดยการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและผ่านการประเมินผลตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดและมีการวัดผลตลอดภาคเรียน โดยการ1.1 สังเกต
1) ความสนใจ
2) การเข้าร่วมกิจกรรม
1.2 ซักถาม
1.3 การทดสอบทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ
2. วิชาพิเศษ เป็นการวัดผลและประเมินผลในแต่ละวิชา โดยการทดสอบทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ และใช้เกณฑดังนี้
2.1 ผ่าน ( ผ )
2.2 ไม่ผ่าน ( มผ.)
กิจกรรมการอยู่ค่ายพักแรมของลูกเสือ-เนตรนารี
การอยู่ค่ายพักแรม เป็นหัวใจของลูกเสือ ลูกเสือทุกคนต่างก็มีโอกาสที่จะอยู่ค่ายพักแรม เนื่องจากตามข้อบังคับของคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ พ.ศ.2509 ข้อ 273-279 กำหนดไว้ว่า ให้ผู้กำกับกลุ่มหรือผู้กำกับลูกเสือนำลูกเสือไปฝึกเดินทางไกลและแรมคืน ในปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง ครั้งหนึ่งให้พักแรมอย่างน้อย 1 คืน
การเดินทางไกลและแรมคืน มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกให้ลูกเสือมีความอดทน อยู่ในระเบียบวินัย รู้จักช่วยตัวเอง รู้จักอยู่และทำงานร่วมกับผู้อื่น ตลอดจนเรียนวิชาลูกเสือเพิ่มเติม ผู้บังคับบัญชาลูกเสือจำเป็นต้องวางแผนนำลูกเสือไปเดินทางไกลและแรมคืนไว้ให้พร้อมก่อนและเนิ่น ๆ ดังนั้น บทบาทผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อลูกเสือ ต่องานการอยู่ค่ายพักแรมและตามหน้าที่ของตนเอง จึงจำเป็นต้องหาโอกาสให้ลูกเสือของตนได้มีโอกาสในการอยู่ค่ายพักแรมเสมอ
อนึ่ง ผู้บังคับบัญชาลูกเสือต้องเข้าใจว่า กิจกรรมการอยู่ค่ายพักแรมนี้ เป็นกิจกรรมสำหรับเด็ก มิใช่กิจกรรมของผู้ใหญ่ ความสำเร็จคือกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการของเด็ก ได้แก่ การผจญภัย การได้เพื่อน ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ได้ความสนุกและความสุข พร้อมทั้งเกิดทัศนคติที่ดีต่อการไปอยู่ค่ายพักแรมด้วย ถือว่าสิ่งนี้เป็นจุดหมายที่สำคัญ
วิชาพิเศษลูกเสือ
ลูกเสือทั้ง 4 ประเภทที่เรียนหลักสูตรกิจกรรมลูกเสือสำรอง ลูกเสือสามัญ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ และลูกเสือวิสามัญ อาจสอบวิชาพิเศษได้ตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ วิชาเหล่านี้ มุ่งหมายให้ลูกเสือได้แสดงออก ซึ่งทักษะและความสนใจของตนเองกับเพื่อให้ได้มีส่วนในการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับลูกเสืออื่น ๆด้วย โดยมีรายละเอียดดังนี้
เครื่องหมายวิชาพิเศษลูกเสือ ประเภทสามัญรุ่นใหญ่ 76 วิชา
1. นักผจญภัย | 2. นักดาราศาสตร์ | 3. นักอุตุนิยมวิทยา | 4. ผู้จัดการค่ายพักแรม |
5. ผู้พิทักษ์ป่า | 6. นักเดินทางไกล | 7. หัวหน้าคนครัว | 8. นักบุกเบิก |
9. นักสะกดรอย | 10. นักธรรมชาติวิทยา | 11. การสื่อสารด้วยยานพาหนะ | 12. นักดับเพลิง |
13. นักสัญญาน | 14. นักสารพัดช่าง | 15. นักโบราณคดี | 16. นักสะสม |
17. นักดนตรี | 18. นักถ่ายภาพ | 19. นักกีฬา | 20. นักกรีฑา |
21. นักพิมพ์ดีด | 22. นักแสดงการบันเทิง | 23. นักยิงปืน | 24. ล่าม |
25. หน้าที่พลเมือง | 26. มัคคุเทศก์ | 27. บรรณารักษ์ | 28. เลขานุการ |
29. พลาธิการ | 30. ผู้ช่วยการจราจร | 31. ช่างเขียน | 32. ช่างไฟฟ้า |
33. ช่างวิทยุ | 34. ช่างแผนที่ | 35. ช่างเครื่องยนต์ | 36. อีเล็กทรอนิกส์ |
37. การหามิตร | 38. การฝีมือ | 39. การช่วยผู้ประสบภัย | 40. การสาธารณสุข |
41. การพยาบาล | 42. การพูดในที่สาธารณะ | 43. การอนุรักษ์ธรรมชาติ | 44. การประชา สัมพันธ์ |
45. การสังคมสงเคราะห์ | 46. การพัฒนาชุมชน | 47. ชาวประมง | 48. ต้นเด่น |
49. ผู้นำร่อง | 50. นักเล่นเรือใบ | 51. นักว่ายน้ำ | 52. นักพายเรือ |
53. นักกระเชียงเรือ | 54. กลาสีเรือ | 55. การควบคุมการจราจรทางน้ำ |
|
56. การป้องกันความเสียหายและดับเพลิงไหม้บนเรือ | 57. การเรือ | 58. การดำรงชีพในทะเล |
|
59. เครื่องหมายชาวเรือ | 60. เครื่องหมายเชิดชูเกียรติลูกเสือเหล่าสมุทร | 61. นักเครื่องบินเล็ก |
|
62. ช่างอากาศ | 63. ยามอากาศ | 64. การควบคุมการจราจรทางอากาศเบื้องต้น |
|
65. การควบคุมการจราจรทางอากาศ | 66. การช่วยเหลือผู้ประสบภัยและดับเพลิงอากาศยาน |
|
|
67. การฝึกเป็นผู้นำ | 68. นักปฏิบัติการทางจิตวิทยา(ปจว.) | 69. การขนส่งทางอากาศ |
|
70. แผนที่ทหารและเข็มทิศ | 71. เสนารักษ์ | 72. การดำรงชีพในถิ่นทุรกันดาร |
|
73. นักไต่ผา | 74. เครื่องหมายการบิน | 75. เครื่องหมายเชิดชูเกียรติลูกเสือเหล่าอากาศ |
|
76. เครื่องหมายผู้ฝึกสอน |
แนวปฏิบัติการสอบวิชาลูกเสือพิเศษ
ในการสอบวิชาพิเศษลูกเสือ มีแนวปฏิบัติที่สำคัญ ดังนี้
1. ทำการสอบวิชาพิเศษโดยใช้เวลานอกเหนือจากจากที่ลูกเสือเข้าร่วมกิจกรรมตามปกติ หรือในขณะอยู่ค่ายพักแรม นอกจากนี้ ลูกเสืออาจใช้เวลาว่างของตนเองทำการฝึกฝนทักษะต่าง ๆของวิชาพิเศษ แล้วทำการขอสอบหรือส่งรายงานผลการปฏิบัติงานของรายวิชานั้น แก่ผู้กำกับลูกเสือ เพื่อขอประดับเครื่องหมาย การสอบจะจัดให้มีขึ้นปีละกี่ครั้งก็ได้ โดยเน้นการปฏิบัติจริง เมื่อสอบผ่านแล้ว ให้ผู้กำกับลงนามรับรองในสมุดประจำตัวลูกเสือ2. วิชาพิเศษลูกเสือวิชาใดที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กับกิจกรรมที่ลูกเสือเข้าร่วมตามปกติ ก็ให้นำไปบูรณาการ รวมทั้งทำการสอบภาคปฏิบัติของวิชาพิเศษนั้น ๆ และให้ถือว่าลูกเสือที่ผ่านการสอบแล้วมีสิทธิ์ประดับเครื่องหมายวิชาพิเศษนั้นด้วย
3. ให้โรงเรียนเป็นผู้ดำเนินการขอซื้อเครื่องหมายวิชาพิเศษลูกเสือตามจำนวนที่ลูกเสือได้รับจากร้านค้าขององค์การค้าของคุรุสภา
4. สำหรับวิชาพิเศษลูกเสือ ให้ใช้ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครองหลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ (ฉบับที่ 14 ) พ.ศ.2528
**********************
{fullWidth}