ชุดปกติขาว เครื่องราชฯ เหรียญที่ระลึก

 เครื่องราชฯ กับ เหรียญเหรียญที่ระลึก

แพรแถบ ที่ติดอกซ้ายของเจ้าหน้าที่รัฐนั้น
จะมี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. แพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญบำเหน็จ
2. แพรแถบเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก

อธิบายง่ายๆ แถบสีต่าง ๆ ที่ติดอกซ้ายของเครื่องแบบ ข้าราชการ, พนักงานรัฐวิสาหกิจ, เจ้าหน้าที่รัฐ นั้น จะแยกเป็น 2 แบบ ข้างต้น
สำหรับ แพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญบำเหน็จ จะต้องได้รับพระราชทาน จึงจะมีสิทธิประดับ
เครื่องราชที่ข้าราชการ จะได้รับพระราชทาน มีหลัก ๆ 2 ตระกูล (มีโอกาสได้รับทุกคน) คือ
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย



ในส่วน แพรแถบเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก (ในรัชสมัยรัชกาลที่ 9)
มีทั้งสิ้น 20 แพรแถบเหรียญ คือ
1. เหรียญพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9
2. เหรียญงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ
3. เหรียญที่ระลึกในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป
4. เหรียญรัชดาภิเษก  
5. เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร
6. เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
7. เหรียญที่ระลึกสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี
8. เหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
9. เหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
10. เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหามงคลสมัยพระราชพิธีเฉลิมพระชนมายุ ๖๐ พรรษา
11. เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหามงคลสมัยพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก
12. เหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ
13. เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหามงคลสมัยพระราชพิธีกาญจนาภิเษก
14. เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒
15. เหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ
16. เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี
17. เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
18. เหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธี มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕
19. เหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสพระราชพิธีฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘
20. เหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙


ประชาชนทุกคนแม้จะไม่ได้รับราชการ ก็มีสิทธิประดับได้เลย ทั้งแบบเต็มและแบบย่อ โดยไม่ต้องคำนึงถึง พ.ศ. เกิด (เว้นอยู่ 2 เหรียญแรก)
หลาย ๆ คน ไม่ทราบถึงข้อเท็จจริงนี้ ต่างคิดไปเองว่าต้องเกิดก่อน พ.ศ. ที่จัดสร้างเหรียญเท่านั้น จึงจะมีสิทธิประดับ ซึ่งจริง ๆ แล้ว ไม่ใช่เลย
สำหรับแพรแถบเหรียญที่เว้นอยู่ 2 แพรแถบเหรียญ คือ
1. แพรแถบเหรียญพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ร.9
    - บุคคลต้องได้รับพระราชทาน จึงมีสิทธิประดับ
2. แพรแถบเหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
    - ตาม พ.ร.บ. เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ. 2499
     มาตรา 4 บัญญัติว่า บุคคลซึ่งมีชีวิตอยู่ในวันฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ให้มีสิทธิประดับเหรียญนี้ได้ตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 เป็นต้นไป

ส่วนแพรแถบเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก อื่น ๆ (ลำดับที่ 3 - 20) นั้น
กฎหมายบัญญัติไว้เพียงว่า "บุคคลมีสิทธิประดับเหรียญนี้ได้"
หรือ "บุคคลมีสิทธิประดับเหรียญนี้ได้ตั้งแต่วัน..... เป็นต้นไป" เท่านั้น
ซึ่งไม่ได้มีการกำหนด พ.ศ. เกิดของบุคคลที่มีสิทธิประดับแต่อย่างใด

สรุป
แพรแถบในรัชสมัยรัชการที่ 9 คนไทยติดได้ทุกคน โดยไม่จำเป็นต้องรับราชการ
แต่ติดได้เลยเฉพาะแพรแถบเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก (ยกเว้น 2 เหรียญข้างต้น)
ส่วนแพรแถบเครื่องราชหรือเหรียญราช ต้องได้รับพระราชทานก่อน จึงมีสิทธิประดับ

ทั้งนี้ยังมีเครื่องราชตระกูลอื่นอีกที่ไม่ต้องรับราชการก็สามารถได้รับพระราชทานได้
เช่น เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์
ถ้าครูผู้ช่วยนั้น ได้รับพระราชทานมาแล้ว ก็สามารถประดับได้

หรือ เหรียญกาชาด เป็นต้น

เน้นบอกร้านถ่ายรูป หรือ ร้านขาจแพรแถบ ว่าเอาแพรแถบไม่มีเครื่องราช
ถ้าไม่ชัวร์ ก็เอารูปมาถามก็ได้ครับ ว่าเป็นเครื่องราชอะไร หรือเป็นแค่เหรียญที่ระลึกธรรมดาซึ่งมีสิทธิประดับได้ทุกคนอยู่แล้ว
--------------------
ที่มาครูสมชายคัดมาจาก : https://pantip.com/topic/38529202

--------------------
อ่านเพิ่มเติมความรู้เรื่องแพรแถบและเครื่องราช

--------------------
ชุดปกติขาว ส่องข้อมูลฉบับย่อ เข้าใจรูปแบบและเครื่องหมายที่ถูกต้อง

ชุดปกติขาว

ชุดปกติขาว คือเครื่องแบบราชการที่เรามักเห็นตามงานพิธีสำคัญอยู่เสมอ ซึ่งชุดปกติขาวจะมีทั้งของผู้ชาย และผู้หญิง ทั้งชุดจะใช้เนื้อผ้าสีขาวสะอาดเหมือนกัน แต่ต่างกันที่รูปแบบและเครื่องหมายที่ติดกับชุด และถึงแม้ว่า เราจะเห็นชุดปกติขาวผ่านตากันบ่อยครั้ง แต่เชื่อว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะเข้าใจรูปแบบได้อย่างถูกต้องครบถ้วน SUITCUBE จึงขอช่วยไขข้อสงสัย ชวนเปิดข้อมูลฉบับย่อของ ‘ ชุดปกติขาว ’ ว่ารูปแบบที่ถูกต้อง และเครื่องหมายที่ใช้กันนั้นเป็นอย่างไร

รูปแบบที่ถูกต้องของ ชุดปกติขาว

ชุดปกติขาว

– รูปแบบสำหรับผู้ชาย –

ชุดปกติขาว สำหรับผู้ชาย ให้เลือกเสื้อราชการคอปิดสีขาวแขนยาว มีกระเป๋า พร้อมใบปกกระเป๋าที่อกเสื้อทั้งสองข้าง ใส่คู่กับกางเกงขายาวสีขาวเช่นกัน กระดุมที่ใช้ต้องเป็นกระดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดใหญ่ 5 เม็ด ใส่คู่กับถุงเท้าสีดำ และรองเท้าหนังหุ้มส้นสีดำ

ชุดปกติขาว

– รูปแบบสำหรับผู้หญิง –

สำหรับชุดปกติขาวของผู้หญิงนั้น จะมีดีเทลที่เสื้อมากกว่า เริ่มจากเสื้อชั้นนอก ให้เลือกเสื้อคอแบะสีขาวแบบคอแหลมหรือคอป้าน แขนยาวถึงข้อมือ รวมถึงต้องมีตะเข็บหลัง 4 ตะเข็บ ถัดมาเป็นเสื้อข้างใน ให้เลือกเสื้อคอพับแขนยาวสีขาว ผูกผ้าผูกคอสีดำเงื่อนกะลาสี เสื้อชั้นนอกคอแหลมต้องติดกระดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 เซนติเมตร 3 เม็ด และสำหรับเสื้อชั้นนอกคอป้านต้องมีกระดุม 5 เม็ด มีกระเป๋าล่างลักษณะเจาะเฉียงเล็กน้อย และไม่มีใบปกกระเป๋าข้างละ 1 กระเป๋า ใส่คู่กับกระโปรงสีขาวยาวคลุมเข่า ถุงน่องหรือถุงเท้ายาวสีเนื้อ ปิดจบด้วยรองเท้าหนังหุ้มส้น

เช็กลิสต์เครื่องหมายติด ชุดปกติขาว
เครื่องหมายติดชุดปกติขาวมีอยู่ด้วยกัน 4 เครื่องหมายหลัก คือ

  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ : ทำจากผ้าแพรแถบ ไม่มีพลาสติกหุ้ม ซึ่งผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งผู้ชาย และผู้หญิงให้ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าบนซ้ายประมาณ 0.5 เซนติเมตร
  • เครื่องหมายอินทนู : แทบสีทองกว้าง 1 เซนติเมตร มีลักษณะเป็นช่อชัยพฤกษ์ 3 ดอก ปักด้วยดิ้นสีทอง ซึ่งของผู้ชายจะมีขนาดใหญ่ และของผู้หญิงจะมีขนาดเล็ก
  • เครื่องหมายสังกัด : โลหะโปร่งสีทองรูปตราราชสีห์ (ห้ามเคลือบพลาสติกทั้งผู้ชายและผู้หญิงให้ติดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง แตกต่างกันที่เครื่องหมายสังกัดของผู้ชายจะมีขนาดใหญ่กว่าของผู้หญิง
  • กระดุมครุฑ : มีลักษณะเหมือนกันทุกกระทรวง ทำด้วยโลหะสีทองเป็นรูปครุฑ

    นอกจากชุดปกติขาวแล้ว ยังมี ‘เครื่องแบบเต็มยศ’ รูปแบบเหมือนชุดปกติขาว แต่เปลี่ยนกางเกงและกระโปรงเป็นสีดำ ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และสวมสายสะพาย (หากมีมักใช้กับพระราชพิธีเปิดสมัยประชุมรัฐสภา พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระราชพิธีฉัตรมงคล และงานสโมสรสันนิบาต ทําเนียบรัฐบาล รวมถึงยังมี ‘เครื่องแบบครึ่งยศ’ ที่มีรูปแบบเหมือนกับเครื่องแบบเต็มยศ ต่างกันแค่ไม่มีสายสะพาย ส่วนมากใช้กับงานซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดําเนิน แต่เป็นงานที่มีความสําคัญรองไปจากงานซึ่งต้องแต่งเครื่องแบบเต็มยศนั่นเอง

ที่มาครูสมชายคัดมาจาก: https://www.suitcube.com/civil-servant-uniform/
แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า